เดียวนี้มือถือเราไปไกลมากกว่าการนำไปใช้โทรหากัน แต่มันพ่วงมาด้วยเทคโนโลยีทันสมัยมากมาย โดยเฉพาะกล้องของโทรศัพท์มือถือที่ล้ำยุค เพียงพอจะถ่ายภาพสวยๆ ไม่แพ้กับกล้องใหญ่เลยเชียว แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะถ่ายภาพออกมาได้สวย ลองให้มือถือดีๆ ซักเครื่องกับคนทั้ง 2 คน หนึ่งคนแรกคือคนที่เป็นช่างภาพ และสองคือคนทั่วไป แน่นอนว่าผลลัพธ์ย่อมออกมาแตกต่างกัน ดีหน่อยที่ว่าเราสามารถเป็นแบบคนแรกได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นถึงระดับมืออาชีพ แค่รู้เทคนิคถ่ายภาพเหล่านี้ก็พอ
1.ปรับงานงานโหมดออโต้ให้เหมาะ Portrait
โดยปกติแล้วกล้องมือถือทั่วไปจะอยู่ในโหมด “อัตโนมัติ” ซึ่งก็ดีสำหรับถ่ายภาพทั่วไป แต่บางครั้งเราจำเป็นตั้งปรับระดับ ISO เพื่อให้ภาพมีความสว่างแบบที่เราต้องการ ก็ถึงเวลาที่ควรจะรู้ว่าเปิด หรือปิดโหมดนี้อย่างไร ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือการโฟกัสของกล้อง ปกติแล้วในโหมดออโต้จะโฟกัสไปที่จุดตรงกลางเพียงตำแหน่งเดียว ซึ่งการถ่ายภาพบุคคลก็ถือว่าเหมาะอยู่ แต่ถ้าเราไม่ชอบก็สามารถกดโฟกัสตามจุดอื่นๆ ได้เช่นกัน
2.อย่าซูมภาพแบบดิจิตอล
การซูมภาพบนกล้องมือถือจะทำให้ภาพที่ได้ไม่มีคุณภาพ เพราะมันจะไม่ได้ให้ความละเอียดที่แท้จริง ดังนั้นจึงมีมือถือรุ่นใหม่ๆ ที่มาพร้อมกับกล้องแบบ Optical zoom ซึ่งมีตั้งแต่ระดับ 2x ขึ้นไป สิ่งนี้จะทำให้เราได้ภาพขยายที่มีความชัดสูง ไม่ใช่ภาพขยายหลอกๆ ที่ระบบดิจิตอลทำเพื่อหลอกตาของเรา สำหรับการถ่าย Portrait ถ้าไม่มีระบบ Optical zoom ก็ขยับเข้าไปใกล้แบบแทนจะได้ภาพที่คมชัดและสวยงามขึ้น
3.เปิดใช้งาน Portrait Mode
โหมดนี้เริ่มมีมาให้ใช้งานเมื่อไม่กี่ปีก่อน และปัจจุบันนี้มือถือรุ่นกลางเกือบทุกรุ่นมักจะมีโหมดนี้หมด Portrait Mode จะมอบภาพที่พื้นหลังเบลอ หรือที่เรียกว่า โบเก้ ซึ่งปกติจะเป็นเทคนิคถ่ายภาพในกล้อง DSLR ที่มีเลนส์มุมกว้าง สำหรับกล้องมือถือจะมีเลนส์ที่เอาไว้ใช้วัดระดับความชัดตื้น แต่บางเจ้าอย่างใน Google Pixel ที่สามารถจำลองโบเก้ได้สมบูรณ์โดยปราศจากเลนส์หรืออุปกรณ์เพิ่มเติม ใช้เพียงแค่การคำนวณให้ซอฟต์แวร์
ประโยชน์ของการได้พื้นหลังที่เบลอใน Portrait Mode จะให้ตัวแบบของเรามีเด่นและมีมิติมาก เพราะการถ่ายภาพแบบนี้ก็ย่อมต้องเน้นที่ตัวคนเป็นหลัก เทคนิคนี้นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมาก บางคนเลือกจะถ่ายภาพเอาไว้ก่อนแล้วนำไปแต่งอีกครั้งในโปรแกรม Photoshop ซึ่งอาจได้ภาพที่นุ่มนวลกว่าตามความสามารถของผู้ใช้งาน